วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562

OSI Model 7 Layer

สวัสดีครับทุกท่าน
บทความนี้ จะมาอธิบายเกี่ยวกับ OSI Model หรือ OSI 7 Layer ว่ามันคืออะไร?




OSI Model หรือ OSI 7 Layer มันคืออะไรกันนะ?
ในอดีต การทำติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งนั้น มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกันเองได้ แค่ภายใต้ Brand หรือ ผู้ผลิตเดียวกันเพียงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น

มุมมองทางด้าน Hardware
เครื่อง คอมพิวเตอร์ Brand(A) จะสามารถติดต่อสื่อสารกับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ Brand(A) ได้เพียงเท่านั้น
โดยที่ เครื่อง คอมพิวเตอร์ Brand(A) จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ Brand(B) ได้เลย

หรือ

มุมมองทางด้าน Software
เครื่อง คอมพิวเตอร์ Brand(A) จะสามารถติดต่อสื่อสารกับ ติดตั้ง Software Brand(A) ได้เพียงเท่านั้น
โดยที่ เครื่อง คอมพิวเตอร์ Brand(A) จะไม่สามารถติดตั้ง Software Brand(B) ได้เลย

จากความสามารถดังกล่าว เป็นผลมาจากการออกแบบการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของตัวเอง (หรือที่เรียกกันว่า Proprietary) ทำให้การใช้งานร่วมกันระหว่าง Brand อื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ (หรือที่เรียกกันว่า Multi-Vender) และไม่เกิดความยืดหยุ่น จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานการสื่อสารขึ้นมาโดยองค์กรมาตรฐานสากล หรือ ISO (International Organization for Standardization)

Tips : หลายท่านคงแปลกใจกับคำย่อ ISO ที่ไม่ตรงกับคำเต็ม และควรจะเป็น IOS ซะมากกว่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำว่า "ISO" นั้นไม่ใช่ชื่อย่อแต่อย่างใด แต่เป็นรากศัพท์ของคำว่า "isos" ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า "equal" ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า "เท่ากัน" ดังนั้น จึงเป็นแนวคิดของคำว่า ISO ที่หมายถึง มาตรฐาน นั่นเอง (เท่ากัน หรือก็คือ มาตรฐาน) ครับ


ในช่วงปี ค.ศ.1970 ทาง ISO ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสร้างแบบจำลองสถาปัตยกรรมเครือข่าย เพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายใต้ชื่อว่า แบบจำลอง OSI (Open Systems Interconnection) และในปี ค.ศ.1984 จึงได้ประกาศใช้แบบจำลอง OSI อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นแบบอ้างอิงเครือข่ายมาตรฐานสากล

แบบจำลอง OSI หรือ OSI Model มีจุดประสงค์เพื่อให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถติดต่อสื่อสารร่วมกันได้ผ่านมาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล ซึ่งผู้ผลิต Hardware และ ผู้พัฒนา Software สามารถใช้แบบจำลอง OSI เพื่อเป็นมาตรฐานในการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้นั่นเอง

โดยกรอบการทำงานบนแบบจำลอง OSI จะแบ่งเป็นชั้นการสื่อสาร (หรือที่เรียนกันว่า Layer) ออกเป็น 7 ชั้นสื่อสารด้วยกัน คือ

Layer 1 : Physical Layer
Layer 2 : Data Link Layer
Layer 3 : Network Layer
Layer 4 : Transport Layer
Layer 5 : Session Layer
Layer 6 : Presentation Layer
Layer 7 : Application Layer

ซึ่ง OSI Layer จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
ตั้งแต่ Layer 1 - 4 จะเรียกว่า Lower Layer
ตั้งแต่ Layer 5 - 7 จะเรียกว่า Upper Layer

จากการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ท่านที่ทำงานสาย Network หรือผู้ที่กำลังการศึกษาเกี่ยวกับ Network นั้นจะสังเกตได้ว่า พวกเราจะวุ่น ๆ อยู่กับ Lower Layer ซะเป็นส่วนใหญ่ (แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้ปวดหัวข้ามวันข้ามคืน หรืออดหลับอดนอนกันได้แล้วครับ ฮ่า ๆ)

ซึ่งเนื้อหาโดยรวมของ OSI Model ก็พอจะสรุปได้ถึงแนวคิดในการแบ่งชั้นการสื่อสารบนแบบจำลอง OSI  เพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้ (ข้อดีนั่นแหละครับ)
1. ลดความซับซ้อน จึงทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (โดยการแยกเป็น Layer และกำหนดกรอบการทำงานในแต่ละ Layer อย่างชัดเจน)
2. เพื่อให้แต่ละ Layer ทำงานตาม Function ที่ได้รับมอบหมายที่สอดคล้องกับตามมาตรฐานสากล
3. จากขอบเขตการทำงานของแต่ละ Layer ทำให้การสื่อสารเกิดความคล่องตัว และยังป้องกันกรณีมีการเปลี่ยนแปลงบนชั้นสื่อสารหนึ่ง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชั้นสื่อสารอื่น ๆ
4. เพื่อให้แต่ละอุปกรณ์ที่ผลิตมาต่าง Brand สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Multi-Vender) โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากล
5. เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งานอุปกรณ์เครือข่าย และออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสาร รวมไปถึงระบบคอมพิวเตอร์



จบแล้วครับ สำหรับบทความที่เล่าถึง OSI Model ทั้งต้นกำเนิด ที่มาที่ไป และแนวคิด(หรือข้อดี)ในการสร้างแบบจำลอง OSI ให้เป็นมาตรฐานสากล หวังว่าทุกท่านที่เข้ามาอ่านจะได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยครับ หากมีข้อมูลผิดพลาดในส่วนตรงไหน ผมยินดีที่จะรับฟัง และพร้อมที่จะแก้ไขเนื้อหาให้มีความถูกต้องอยู่ตลอด เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาหาความรู้จะได้รับความรู้ที่ถูกต้องครับ

แล้วเจอกันใหม่ในบทความต่อไปนะครับ 


ขอบคุณมากครับผม
Network Society

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น